ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
วิชา การออกแบบงานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นการส่งเสริม รักษา ป้องกัน และฟื้นฟูโรคด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ถูกใช้และสืบทอดติดต่อกันมาเป็นเวลานาน โดยส่วนมากการถ่ายทอดมักเป็นในครอบครัว เครือญาติ ศิษย์อาจารย์ หรือจากตำรามาตรฐาน อย่างไรก็ดี เนื้อหาและความถูกต้องยังไม่ได้รับการพิสูจน์ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์มากเพียงพอ ทำให้การยอมรับด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกยังถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ และไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควรจากแพทย์แผนปัจจุบัน การออกแบบงานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกด้วยมาตรฐานเดียวกับงานวิจัยของแพทย์แผนปัจจุบัน จะช่วยให้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีหลักฐานที่สนับสนุน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการรักษาโรคต่าง ๆ และสามารถคลายข้อกังขาที่มีในอดีตได้
เนื้อหารายวิชา
เนื้อหารายวิชา การออกแบบงานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ประกอบไปด้วย
1. การวิจัย การประเมินโครงการ และการพัฒนาคุณภาพ (Research, Program Evaluation, and Quality Improvement)
ความแตกต่างระหว่างการวิจัย การประเมินโครงการ และการพัฒนาคุณภาพ
การวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
ลักษณะพิเศษของสภาการแพทย์แผนไทย
ความแตกต่างระหว่างสรรพคุณและข้อบ่งใช้
กรอบแนวคิดในการทำวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
Interview: กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์
2. การทบทวนวรรณกรรม (Literature and Systematic Review)
การทบทวนวรรณกรรมแบบทั่วไป
ความลำเอียงที่เกิดจากการรายงาน
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
PRISMA Guideline
Interview: ปัทมา โพธิสัตย์
3. การศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Study)
การรายงานผู้ป่วย
การรายงานผู้ป่วยหลายราย
การวิจัยเอกสาร
CARE, SRQR, COREQ Guidelines
4. การศึกษาเชิงสังเกต (Observational Study)
การศึกษาเชิงสังเกตแบบภาคตัดขวาง
การศึกษาเชิงสังเกตแบบย้อนหลัง
การศึกษาเชิงสังเกตแบบไปข้างหน้า
สถิติอย่างง่ายสำหรับการศึกษาเชิงสังเกต
STROBE Guideline
Interview: ศิริลักษณ์ สังติ้น Retrospective Observational study
Interview: โสภิดา แก้วนาหลวง Prospective Observational study
5. การกำหนดตัวแปรสำหรับการวิจัย (Defining Research Variables)
การกำหนดตัวแปรต้น
การกำหนดตัวแปรตาม
การกำหนดตัวแปรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
6. การวัดผลลัพธ์ (Outcome Measurement)
การวัดผลลัพธ์แบบ Objective
การวัดผลลัพธ์แบบ Subjective
7. การวิเคราะห์ข้อมูติทุติยภูมิ (Secondary Data Analysis)
ความแตกต่างระหว่างข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ
การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทุติยภูมิ
Interview: ศุศราภรณ์ สามประดิษฐ์
8. การศึกษาเชิงทดลอง (Experimental Study)
ความแตกต่างระหว่างการศึกษาเชิงสังเกตและการศึกษาเชิงทดลอง
สถิติอย่างง่ายสำหรับการเปรียบเทียบผลการรักษา
การเลือกกลุ่มควบคุม
CONSORT Statement
Interview: รศ.นพ.ประเดิมชัย คงคำ
9. การประเมินผลโครงการและการพัฒนาคุณภาพ (Program Evaluation & Quality Improvement)
โครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการ
การประเมินผลแบบ Summative
การประเมินผลแบบ Formative
การพัฒนาคุณภาพการบริบาลและการบริการ
SQUIRE, AGREE, RIGHT Guidelines
10. จริยธรรมการวิจัย (Research Ethics)
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
การพิจารณาแบบ Exempted / Expedited / Full Board
Thai Clinical Trial Registry
Interview: กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
วัตถุประสงค์
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน