เทคนิคพื้นฐานในห้องปฏิบัติการชีวเคมี

  • โดย : คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รหัส : CHULAMOOC5009
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 2
  • เรียนได้ตลอดปี 2567
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 5 พฤศจิกายน 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 31 ธันวาคม 2564
เนื้อหา
12 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา เทคนิคพื้นฐานในห้องปฏิบัติการชีวเคมี จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการใช้งานพื้นฐาน รวมไปถึงหลักการ และเทคนิคในห้องปฏิบัติการชีวเคมี เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อวิชา เทคนิคพื้นฐานในห้องปฏิบัติการชีวเคมี

บทที่ 1 อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

บทที่ 2 หลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการชีวเคมี

บทที่ 3 ชนิดของปิเปต

บทที่ 4 การใช้งาน Serological pipette หรือ Blow-out pipette

บทที่ 5 การใช้งาน Automatic pipette

บทที่ 6 หลักการทำงานของเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์

บทที่ 7 การใช้งานเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์

บทที่ 8 หลักการของเทคนิคอิเล็กทรอนิโทรโฟเรซิส

บทที่ 9 หลักการของเทคนิคโครมาโทกราฟี

บทที่ 10 การเตรียมคอลัมน์บรรจุเจล

บทที่ 11 หลักการของเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส

บทที่ 12 หลักการของเทคนิค Enzyme Linked Immunosorbent Assay (ELISA)

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมถึงการนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

หมายเหตุ

    1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
    2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • คณาจารย์และเจ้าหน้าที่
    • ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ