เทคนิคทางเภสัชกรรมและการเตรียมเภสัชภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ

  • โดย : ทีมคณาจารย์ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รหัส : CHULAMOOC5008
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 1
  • เรียนได้ตลอดปี 2567
เนื้อหา
7 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน นิสิต นักศึกษา เภสัชกร และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

ในการเตรียมเภสัชภัณฑ์ให้ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน และประสิทธิผล ที่เราต้องการนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เภสัชกรจะต้องทราบวิธีการ หลักการ เทคนิคที่ถูกต้องทางเภสัชกรรมในการเตรียมยา  และสำหรับรายวิชา เทคนิคทางเภสัชกรรมและการเตรียมเภสัชภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ จะนำเสนอเกี่ยวกับ วิธีการเตรียมเภสัชภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ โดยเน้นที่หลักการและวิธีการที่ถูกต้องตามเทคนิคทางเภสัชกรรม สำหรับการเตรียมเภสัชภัณฑ์แต่ละรูปแบบ

เนื้อหาในรายวิชาค่อนข้างมากและชั่วโมงปฏิบัติการมีจำกัด การศึกษาจากวีดิทัศน์สื่อการสอนล่วงหน้า จะทำให้นิสิตสามารถเตรียมปฏิบัติการได้อย่างเข้าใจและมีความถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด อีกทั้งสามารถลดการสิ้นเปลืองวัสดุสารเคมีได้มากขึ้น  นอกเหนือจากนี้นิสิตยังสามารถใช้ในการทบทวนสำหรับการสอบทั้งในรายวิชาที่เกี่ยวข้องตามหลักสูตรและในการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อให้มีความเข้าใจและมีความพร้อมมากยิ่งขึ้น และยังเป็นประโยชน์ต่อนิสิตในการเตรียมตัวเป็นเภสัชกรที่มีความพร้อมในการประกอบวิชาชีพทางเภสัชกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยต่อไปในอนาคต

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหาในรายวิชา เทคนิคทางเภสัชกรรมและการเตรียมเภสัชภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วย

    บทที่ 1 เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมยาทางเภสัชกรรม 

    บทที่ 2 เทคนิคการชั่งสารปริมาณน้อยโดยวิธี Aliquot 

    บทที่ 3 สารละลาย (Solutions) 

    บทที่ 4 ยาน้ำแขวนตะกอนและยาอิมัลชัน 

    บทที่ 5 ยาครีม ยาขี้ผึ้ง และยาเพสต์ 

    บทที่ 6 ยาเจล 

    บทที่ 7 ยาแคปซูล 

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป จึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้ 

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นภาพและเข้าใจหลักการและวิธีการเตรียมยารูปแบบต่าง ๆ  

    2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ศึกษานอกห้องเรียนด้วยตนเองก่อนเข้าชั่วโมงปฏิบัติการเพื่อทดลองเตรียมจริง 

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ทีมคณาจารย์ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม

    • คณะเภสัชศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ