เพื่อนร่วมเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย

  • โดย : คณาจารย์จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รหัส : CHULAMOOC4026
  • หมู่ :
    ศิลปะและการพัฒนาตนเอง

ช่วงเวลาเรียนสำหรับผู้ร่วมโครงการ

ช่วงเวลาเรียนสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ
  • เริ่มลงทะเบียน 26 กรกฎาคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 30 กันยายน 2567
เนื้อหา
15 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มอาจารย์ ครู (สพฐ.) จำนวน 1,100 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา เพื่อนร่วมเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย เนื้อหารายวิชาเกี่ยวข้องกับความเป็นมาและการประยุกต์ใช้แนวคิดลูสพารตส์ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้แก่เด็กปฐมวัย อายุ 3-6 ปี แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อลูสพารตส์ บทบาทของผู้ใหญ่ในการสนับสนุนการเล่นแก่เด็กผ่านเทคนิคการชี้แนะและหลักการสร้างบรรยากาศการเล่นที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย รวมทั้งการประเมินเพื่อสนับสนุนการเล่นลูสพารตส์แก่เด็กปฐมวัย

ทักษะที่คาดหวัง เมื่อเรียนรู้ตามหลักสูตร ผู้เรียนจะสามารถอธิบายแนวคิดและหลักการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อลูสพารตส์ สามารถจัดสภาพแวดล้อมและสื่อที่สอดคล้องกับธีมการเล่นตามความสนใจของเด็กปฐมวัย ทักษะการสังเกตอย่างใคร่ครวญ และการสร้างบรรยากาศการเล่นที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย รวมทั้งเข้าใจแนวทางในการประเมินเพื่อสนับสนุนการเล่นลูสพารตส์แก่เด็กปฐมวัย 

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหาในรายวิชา เพื่อนร่วมเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย

    บทที่ 1 จุดกำเนิดของลูสพารตส์ 

    บทที่ 2 ความเข้าใจเกี่ยวกับลูสพารตส์   

    บทที่ 3 ความสำคัญของการเล่นลูสพารตส์ 

    บทที่ 4 การจัดสภาพแวดล้อมและสื่อลูสพารตส์ (1)  

    บทที่ 5 การจัดสภาพแวดล้อมและสื่อลูสพารตส์ (2)  

    บทที่ 6 ลูสพารตส์ในห้องเรียน 

    บทที่ 7 ลูสพารตส์นอกห้องเรียน 

    บทที่ 8 การจัดประสบการณ์การเล่นลูสพารตส์ (1) 

    บทที่ 9 การจัดประสบการณ์การเล่นลูสพารตส์ (2)  

    บทที่ 10 การเล่นของเด็กปฐมวัย 

    บทที่ 11 บทบาทผู้ใหญ่ในการชี้แนะการเล่นลูสพารตส์  

    บทที่ 12 การสังเกตอย่างใคร่ครวญ  

    บทที่ 13 การประเมินอย่างใคร่ครวญ 

    บทที่ 14 แนวทางการประเมินการเล่นลูสพารตส์ของเด็ก 

    บทที่ 15 การจัดทำร่องรอยการเรียนรู้ 

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้ 

วัตถุประสงค์

    1. อธิบายความเป็นมา และความสําคัญของลูสพารตส์ในฐานะสื่อการเรียนรู้ปลายเปิดที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 

    2. ออกแบบสภาพแวดล้อม และคัดเลือกสื่อลูสพารตส์ที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย 

    3. สะท้อนความคิดต่อบทบาทผู้ใหญ่ในฐานะผู้ร่วมเล่น และผู้สร้างบรรยากาศการเล่นที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 

    4. สังเกตอย่างใคร่ครวญ บันทึก และสะท้อนการปฏิบัติในการสนับสนุนการเล่นลูสพารตส์แก่เด็กปฐมวัย

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป 

2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น 

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ

    • ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

      คณะครุศาสตร์ 

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • ผศ. ดร.ปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์

    • ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

      คณะครุศาสตร์ 

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • อ. ดร.อุไรวาส ธำรงอรรถ

    • ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

      คณะครุศาสตร์ 

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    • อ. ดร.ณฐิณี เจียรกุล

    • ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

      คณะครุศาสตร์ 

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ