ก้าวแรกสู่การสร้างคุณค่าด้วยข้อมูล (PTT OR)

  • โดย : รศ. ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ
  • รหัส : CHULAMOOC2006.PTTOR
  • หมู่ :
    เทคโนโลยี

ช่วงเวลาเรียนสำหรับผู้ร่วมโครงการ

ช่วงเวลาเรียนสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ
  • เริ่มลงทะเบียน 12 กรกฎาคม 2567
  • สิ้นสุดการเรียน 12 กันยายน 2567
COMING SOON
เนื้อหา
13 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
พนักงานบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา ก้าวแรกสู่การสร้างคุณค่าด้วยข้อมูล จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้เรื่อง วิทยาศาสตร์ข้อมูล เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญสำหรับนิสิต และประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยเนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับความสำคัญในการเก็บข้อมูล ประเภทข้อมูล แนะนำเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการข้อมูล รวมถึงกรณีตัวอย่างเพื่อให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนและนำไปใช้ได้จริงเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหาในรายวิชา ก้าวแรกสู่การสร้างคุณค่าด้วยข้อมูล ประกอบด้วย

    บทที่ 1 ข้อมูลคืออะไร

    บทที่ 2 กระบวนการเก็บและจัดการข้อมูล

    บทที่ 3 ประเภทของข้อมูล

    บทที่ 4 กรณีตัวอย่างการใช้ข้อมูลแบบต่างๆ

    บทที่ 5 แนะนำเครื่องมือสำหรับใช้จัดการข้อมูล

    บทที่ 6 การเก็บข้อมูลด้วย Google Sheet

    บทที่ 7 ตัวอย่างในชีวิตประจำวันกับการใช้ข้อมูลอย่างมีคุณค่า (1)

    บทที่ 8 ตัวอย่างในชีวิตประจำวันกับการใช้ข้อมูลอย่างมีคุณค่า (2)

    บทที่ 9 แนะนำวิธีการคำนวณข้อมูลด้วย Google Sheet

    บทที่ 10 โจทย์การคำนวณ (1)

    บทที่ 11 โจทย์การคำนวณ (2)

    บทที่ 12 จริยธรรม

    บทที่ 13 สรุป

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญในการเก็บข้อมูลพร้อมวิธีการจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น

    2. เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการใช้ข้อมูลในการทำงานในการตัดสินใจ

    3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจัดเก็บข้อมูลและนำข้อมูลที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ

    • ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

      คณะวิศวกรรมศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอร์สแนะนำ