ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับรายวิชา
รายวิชา นาฏยกรรมสยาม ตอน โขน จะเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประเภทของโขน ตัวละคร องค์ประกอบ ประเภทหัวโขน ท่าทางในการแสดง และขั้นตอนกระบวนการจัดแสดงโขนในกลุ่มนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้ศึกษาและเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของไทย
เนื้อหาในรายวิชา นาฎยกรรมสยาม ตอน โขน ประกอบด้วย
บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของโขน
บทที่ 2 ประเภทของโขน
บทที่ 3 ประเภทของตัวละครในโขน
บทที่ 4 การคัดเลือกผู้แสดงโขน
บทที่ 5 องค์ประกอบที่ใช้ในการแสดงโขน
บทที่ 6 หัวโขน
บทที่ 7 เครื่องแต่งกายในการแสดงโขน
บทที่ 8 ดนตรีประกอบในการแสดงโขน
บทที่ 9 ภาษาท่าทางในการแสดงโขน ตัวพระ ตัวนาง
บทที่ 10 ภาษาท่าทางในการแสดงโขน ตัวยักษ์ ตัวลิง
บทที่ 11 ชีวิตคนโขน
บทที่ 12 การขึ้นทะเบียนโขนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจประวัติความเป็นมาของ โขน ได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทราบถึงขั้นตอนกระบวนการจัดแสดงโขนและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้
หมายเหตุ
1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน
รศ. ดร.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์
ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย