แผ่นดินไหว ธรณีพิโรธที่น่ากลัว

  • โดย : ศ. ดร.ปัญญา จารุศิริ
  • รหัส : CHULAMOOC2007
  • หมู่ :
    เทคโนโลยี
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 5
  • เรียนได้ตลอดปี 2568
รุ่นที่ 4
  • เริ่มลงทะเบียน 8 ธันวาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มกราคม 2567
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 4 กุมภาพันธ์ 2565
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มีนาคม 2565
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 4 ธันวาคม 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มกราคม 2564
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 8 พฤษภาคม 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 30 มิถุนายน 2563
เนื้อหา
11 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา แผ่นดินไหว ธรณีพิโรธที่น่ากลัว เป็นการนำเสนอความรู้ที่จำเป็นและสำคัญสำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยเนื้อหาจะนำเสนอเกี่ยวกับความเป็นมาและแนวคิดเรื่องแผ่นดินไหว ความเข้าใจการเกิดพิบัติภัยแผ่นดินไหว แนวทางป้องกันที่ลดพิบัติภัย รวมถึงวิธีการเอาตัวรอดหากเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหาในรายวิชา แผ่นดินไหว ธรณีพิโรธที่น่ากลัว ประกอบด้วย

    บทที่ 1 วันโลกสะเทือน

    บทที่ 2 ทำไมแผ่นดินต้องไหว

    บทที่ 3 ความเชื่อกับเทคโนโลยี

    บทที่ 4 ยักษ์หลับใหล (รอยเลื่อน)

    บทที่ 5 โลกที่เปลี่ยนไป

    บทที่ 6 Ring of Fire วงแหวนแห่งไฟ

    บทที่ 7 ต้องรอด

    บทที่ 8 แผ่นดินพิโรธ

    บทที่ 9 ฟ้าสีฝุ่น เมืองถล่ม

    บทที่ 10 ก่อร่าง สร้างใหม่

    บทที่ 11 10 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับแผ่นดินไหว

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหวได้อย่างถูกต้อง

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้เรื่องแผ่นดินไหวไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ศ. ดร.ปัญญา จารุศิริ

    • หัวหน้ากลุ่มวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหวและธรณีแปรสัณฐาน

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย