นาฏยกรรมสยาม ตอน ลิเกมรดกไทยในยุคสังคมเมือง

  • โดย : รศ. ดร.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์
  • รหัส : CHULAMOOC4006
  • หมู่ :
    ศิลปะและการพัฒนาตนเอง
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 3
  • เรียนได้ตลอดปี 2567
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 8 มกราคม 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 28 กุมภาพันธ์ 2564
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 7 กุมภาพันธ์ 2562
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มีนาคม 2562
เนื้อหา
10 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

วิชา นาฏยกรรมสยาม ตอน “ลิเก มรดกไทยในยุคสังคมเมือง”  เป็นวิชาที่ต้องการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประเภท  การดำรงชีวิตของนักแสดง  องค์ประกอบของการแสดง  เครื่องแต่งกาย ท่าร่ายรำ รวมไปถึงขั้นตอนและกระบวนการจัดแสดงลิเก  เพื่อให้แก่นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ  ได้ศึกษาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของไทย  และร่วมกันสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ลูกหลานได้ศึกษา

เนื้อหารายวิชา

    วิชา นาฏยกรรมสยาม ตอน ลิเก มรดกไทยในยุคสังคมเมือง ประกอบด้วย

    1. ที่มาของคำว่าลิเกและประวัติลิเก

    2. ประเภทของลิเก ตอนที่ 1

    3. ประเภทของลิเก ตอนที่ 2

    4. ชีวิตลิเก

    5. องค์ประกอบการแสดงลิเก

    6. เครื่องแต่งกายลิเก

    7. การรำลิเก ตอนที่ 1

    8. การรำลิเก ตอนที่ 2

    9. การรำลิเก ตอนที่ 3

    10. การฝึกหัดการแสดงลิเกขั้นพื้นฐาน


เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจประวัติความเป็นมาของ ลิเก ได้อย่างถูกต้อง

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทราบถึงขั้นตอนกระบวนการจัดแสดงลิเกและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ในแต่ละวิชาจะสามารถทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • รศ. ดร.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์

    • ภาควิชานาฏยศิลป์ 
      คณะศิลปกรรมศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย