การฟอกไตและการปลูกถ่ายไต

  • โดย : อ. นพ.สุวศิน อุดมกาญจนนันท์
  • รหัส : CHULAMOOC5014
  • หมู่ :
    สุขภาพ
ลงทะเบียนเรียน

ช่วงเวลาเรียนสำหรับบุคคลทั่วไป

เปิดล่าสุด
รุ่นที่ 4
  • เรียนได้ตลอดปี 2567
รุ่นที่ 3
  • เริ่มลงทะเบียน 3 มีนาคม 2566
  • สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2566
รุ่นที่ 2
  • เริ่มลงทะเบียน 22 มกราคม 2564
  • สิ้นสุดการเรียน 31 มีนาคม 2564
รุ่นที่ 1
  • เริ่มลงทะเบียน 10 กรกฎาคม 2563
  • สิ้นสุดการเรียน 31 สิงหาคม 2563
เนื้อหา
10 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมด ให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

รายวิชา การฟอกไตและการปลูกถ่ายไต (Dialysis and Kidney Transplantation) เป็นการนำเสนอความรู้เรื่องโรคไต ให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความจำเป็นและสำคัญเนื่องจากปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีประชากรที่ป่วยเป็นโรคไตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ความรู้ที่นำเสนอจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคไต ญาติที่ต้องดูแลผู้ป่วย นิสิต/นักศึกษาแพทย์ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยเนื้อหาจะนำเสนอเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคไตวาย อาการ สาเหตุ ความรุนแรง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การฟอกไตผ่านหน้าท้อง โดยจะกล่าวถึงขั้นตอน วิธีปฏิบัติ ข้อควรระวัง การปลูกถ่ายไต ขั้นตอนการเปลี่ยนถ่าย วิธีการดูแลรักษาหลังจากเปลี่ยนไต ซึ่งความรู้ที่กล่าวมาทั้งหมดหากผู้เรียนได้ศึกษาอย่างถูกต้องก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแน่นอน

เนื้อหารายวิชา

    เนื้อหารายวิชา การฟอกไตและการปลูกถ่ายไต (Dialysis and Kidney Transplantation) ประกอบด้วย

    บทที่ 1 โลก (โรค) ไตวาย

    บทที่ 2 ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

    บทที่ 3 ล้างไตทางช่องท้อง

    บทที่ 4 ฟอกเองก็ได้ ไม่ต้องมาโรงพยาบาล

    บทที่ 5 ทางเลือก ทางรอด

    บทที่ 6 เตรียมตัวเพื่อเปลี่ยนไต

    บทที่ 7 ปลูกถ่ายไต

    บทที่ 8 ชีวิตใหม่

    บทที่ 9 ใช้ชีวิตกับไตใหม่

    บทที่ 10 การเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อน

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทราบถึงโรคไตวายได้อย่างถูกต้อง

    2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทราบถึงข้อดีและข้อเสียของการบำบัดทดแทนไต วิธีที่แตกต่างกัน และทราบถึงลักษณะของผู้ป่วยที่เหมาะสมกับวิธีการบำบัดทดแทนไตในแต่ละวิธีได้อย่างถูกต้อง

หมายเหตุ

1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • อ. นพ.สุวศิน อุดมกาญจนนันท์

    • ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาโรคไต
      คณะแพทยศาสตร์

    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย