การประเมินภาวะสุขภาพเด็ก

  • โดย : ผศ. ดร.สุวิมล โรจนาวี
  • รหัส : CHULAMOOC5033
  • หมู่ :
    สุขภาพ

รายวิชานี้สำหรับนิสิตปัจจุบันและบุคลากรจุฬาฯ

ลงทะเบียนเรียน
เนื้อหา
15 บทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 5,000 คน
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม
myCourseVille

เกี่ยวกับรายวิชา

การประเมินภาวะสุขภาพเด็ก (Pediatric Health Assessment) เนื้อหาวิชาจะนำเสนอเกี่ยวกับ ทฤษฎีและทักษะในกลวิธีการประเมินภาวะสุขภาพเด็กอย่างเป็นระบบ การเข้าถึงเด็ก หลักการสัมภาษณ์ การซักประวัติ และการประเมินภาวะสุขภาพเด็กด้านร่างกาย จิตใจ สังคม วัฒนธรรม พัฒนาการด้านต่างๆ และสิ่งแวดล้อม การประเมินการรับรู้ของเด็กและครอบครัวที่เกี่ยวกับภาวะสุขภาพเด็ก การแปลผลข้อค้นพบเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วย รวมถึงวิธีการบันทึกข้อค้นพบ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและผู้ปกครองหรือผู้ที่ต้องมีหน้าที่ดูแลเด็กควรจะรู้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 

หัวข้อวิชา การประเมินภาวะสุขภาพเด็ก (Pediatric Health Assessment)

บทที่ 1 หลักการประเมินภาวะสุขภาพเด็กและครอบครัว 

บทที่ 2 การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ 

บทที่ 3 การประเมินลักษณะทั่วไป 

บทที่ 4 การประเมินสุขภาพผิวหนังเด็ก 

บทที่ 5 การประเมินสุขภาพศีรษะและคอเด็ก 

บทที่ 6 การประเมินสุขภาพใบหน้า จมูก ช่องปากเด็ก 

บทที่ 7 การประเมินสุขภาพหูและการได้ยิน 

บทที่ 8 การประเมินสุขภาพตาและการมองเห็น 

บทที่ 9 การประเมินสุขภาพต่อมน้ำเหลือง 

บทที่ 10 การประเมินสุขภาพทรวงอกและปอด 

บทที่ 11 การประเมินสุขภาพหัวใจและการไหลเวียนโลหิต 

บทที่ 12 การเมินสุขภาพระบบประสาท 

บทที่ 13 การประเมินสุขภาพกระดูกและกล้ามเนื้อ 

บทที่ 14 การประเมินสุขภาพระบบทางเดินอาหารเด็ก 

บทที่ 15 การประเมินสุขภาพจิตเด็ก 


วัตถุประสงค์

      1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินสุขภาพเด็กเบื้องต้นและระบบได้อย่างถูกต้อง 
      2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินภาวะสุขภาพ และบันทึกข้อค้นพบได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง 

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้

หมายเหตุ

    1. ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

    2. ผู้เรียนจะสามารถทำข้อสอบ Posttest ได้เพียง ครั้งเท่านั้น

อาจารย์ผู้สอน

    • ผศ. ดร.สุวิมล โรจนาวี
    • คณะพยาบาลศาสตร์
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย